"ความใส่ใจรายละเอียด"

พื้นฐานของ การทำธุรกิจค้าข้าวให้ประสบความสำเร็จ!

 


 

 
 

ในยุคก่อนช่วงประมาณปี 2530 กว่าๆ การเข้าถึงแหล่งซื้อ-ขายข้าวสารเป็นเรื่องที่ยากลำบากมาก กว่าที่ผู้ประกอบการค้าข้าวรายหนึ่ง จะนำข้าวมาขาย กระจายเข้าสู่ชุมชนได้แต่ละตัว ข้าวทุกตัวที่คนค้าข้าวนำมาขายล้วนผ่านการเฟ้นหาข้าวจากโรงสี จากแหล่งผลิตที่สมัยนั้นมีอยู่เพียงน้อยนิด

ยุคสมัยเปลี่ยนไปเทคโนโลยีต่างๆ เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญ ส่งผลให้การค้าข้าวถูกยกระดับมาตรฐานไปสู่รูปแบบที่เป็นอุตสาหกรรมมากขึ้น จนมาถึงปัจจุบันมี โรงงานผลิตข้าวสารบรรจุถุงเต็มไปหมด จนกลายเป็นปัญหาของผู้ประกอบการยุคเทคโนโลยีนี้ว่า การจะเข้าถึงโรงงานเหล่านี้ ก็ยังคงเป็นเรื่องที่ยากในอีกรูปแบบหนึ่ง ตรงที่มีเงื่อนไขข้อจำกัดในการซื้อขายกับโรงงานสำหรับผู้ประกอบการรายเล็ก-รายย่อย

 

อัตราการแข่งขันที่สูงขึ้น ไม่ว่ากับธุรกิจตัวไหนก็ตาม

รวมถึงธุรกิจค้าข้าว

การได้มาซึ่งแหล่งสินค้าที่ดี

ประกอบกับต้นทุนที่ดี

เป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับผู้ประกอบการทุกราย

ไม่ว่าคุณจะเป็นรายเก่าหรือรายใหม่ในวงการก็ตาม

 

 

สำหรับผู้ประกอบการที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการค้าข้าวมายาวนาน คงเห็นการเปลี่ยนแปลงอะไรมามากมายในวงการค้าข้าว ทุกผู้ประกอบการล้วนต้องผ่านการปรับตัว และยังคงต้องปรับตัวอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ธุรกิจค้าข้าวของคุณเดินต่อไปข้างหน้า การมีคอนเน็คชั่นซื้อ-ขายข้าวกับโรงงานคุณคงรู้ดีว่าเป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อย เพราะการค้าข้าวให้ยั่งยืน ต้องหาต้นทุนหรือการได้มาซึ่งข้าวดีในราคาที่คุ้มค่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก และที่สำคัญไปกว่านั้น คือ

 

.....................................................

การได้มาซึ่งแหล่งผลิตข้าว

ที่คุณสามารถไว้วางใจได้

เชื่อถือและแก้ปัญหาให้คุณได้

.....................................................

 

สำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ คุณอาจจะมีความคิดหรือวาดภาพเกี่ยวกับการทำธุรกิจตัวนี้ว่าเป็นธุรกิจที่ทำง่าย ไม่จำเป็นต้องศึกษาอะไรมากมาย เพราะข้าวเป็นสินค้าพื้นฐานที่ยังไงก็มีตลาดรองรับอยู่แล้ว ถามว่าข้อนี้เป็นความจริงไหม ขอตอบตรงนี้ว่าจริง แต่ไม่ทั้งหมด

อย่างที่กล่าวมาข้างต้น ธุรกิจทุกธุรกิจในปัจจุบัน จำเป็นมากที่ผู้ประกอบการจะต้องปรับตัว และรู้จริงเกี่ยวกับธุรกิจที่ตัวเองทำอยู่แบบรอบด้าน การที่ผู้ประกอบการรายใหม่จะรู้จริง เกี่ยวกับการทำธุรกิจค้าข้าวนั้นคงมีอยู่น้อย และคงต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3-5 ปี กว่าจะเข้าใจ  

 

 

 

ในแต่ละปีมีผู้ประกอบการค้าข้าวรายใหม่ๆ ที่ตัดสินใจกระโดดเข้ามาเล่นในวงการค้าข้าวอยู่จำนวนไม่น้อย แต่น้อยรายที่จะสามารถอยู่รอดได้ในวงการอย่างต่อเนื่อง มีสาเหตุหลายอย่างที่ทำให้คนประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจค้าข้าวจริงๆ มีอยู่น้อยกว่าที่ใครหลายคนคิด นี่เป็นสถิติที่น่าทึ่ง ทั้งที่สินค้าประเภทข้าวสารน่าจะเป็นธุรกิจที่ทำกำไรให้ผู้ประกอบการอย่างเป็นกอบเป็นกำได้อย่างไม่ต้องสงสัย

 

.....................................................

แล้วอะไรกันที่ทำให้

ผู้ประกอบการค้าข้าว บางราย

ต้อง ล้มเลิกกิจการ ไปเสียก่อน

.....................................................

 

ในบทความความนี้จะขอพูดตรงและเร็ว ถึงสาเหตุหลักๆ ส่วนใหญ่ มาจากความไม่พยายามทำให้ตัวคุณเองเป็นมืออาชีพ ในยุคที่มีความเปลี่ยนแปลงรวดเร็วทางด้านข่าวสารและเทคโลยี ความเป็นมืออาชีพเท่านั้น จึงจะทำให้คุณสามารถ อยู่ได้ในวงการนั้น อย่างโดดเด่น

 

สำหรับวงการค้าข้าวจะมองให้ง่ายก็ง่าย และผลลัพธ์ที่แย่ๆ ก็จะเกิดขึ้นง่ายๆ เพราะความมักง่ายของคนที่ไม่ใส่ใจในอาชีพค้าข้าวอย่างจริงจังเช่นกัน ซึ่งแตกต่างกับคนที่ยังคงดำรงธุรกิจค้าข้าวอยู่มาอย่างต่อเนื่อง มองการทำธุรกิจค้าข้าวราวกับการปอกกล้วยเข้าปาก ถามว่ากุญแจแห่งความสำเร็จเหล่านี้ ที่ทำให้พวกเค้าตั้งตัวอยู่ได้เพราะอะไร ขอตอบตรงนี้เลยว่า

 

♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥

“ความใส่ใจ”

♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥

 

ภาพโดย Linus Schütz จาก Pixabay

 

ความใส่ใจเป็นเหตุผลพื้นฐานง่ายๆ ของการทำธุรกิจค้าข้าว คุณจะมองอะไรๆ ที่เกี่ยวกับการทำธุรกิจค้าข้าวแบบหยาบๆ ไม่ได้อีกต่อไป เพราะยุคนี้เป็นยุคแห่งความเป็นมืออาชีพ ยุคแห่งการพัฒนาคุณภาพของธุรกิจตัวเอง และเป็นยุคที่ลูกค้าสามารถเข้าถึงคุณได้ง่ายกว่าเมื่อก่อนเยอะมากๆ 


ลูกค้าของผู้ประกอบการบางคน

ใส่ใจ-เรียนรู้-รู้เรื่อง

มากกว่าผู้ประกอบการค้าข้าวจริงๆ เสียอีก

 

ภาพทีมงานข้าวไทย ลงพื้นที่ชุมชน เพื่อพูดคุย สำรวจลูกค้า ผู้ประกอบการร้านอาหาร
ที่ใช้ข้าวสารประกอบธุรกิจโดยตรง เพื่อพัฒนาปรับปรุง สินค้าและบริการ

 

ในเมื่อเป็นเช่นนี้ก็คงไม่แปลกใจที่ ทำไมผู้ประกอบการค้าข้าวบางคนยังไม่สามารถปิดการขายกับลูกค้าได้อย่างที่คาดหวังไว้เลย คนค้าข้าวบางคนที่เราพบเจอมา เอาแต่โทษว่า คุณภาพสินค้าไม่ดี ลูกค้าไม่ดี เศรษฐกิจไม่ดี บ่นโน้นนั้นนี่ไปเสียไกล โทษทุกเรื่อง

 

ยกเว้นเรื่องเดียว คือ

เรื่องตัวเอง ที่ไม่รู้จริง

เกี่ยวกับสินค้า - ลูกค้า

หรือแม้กระทั่งเกี่ยวกับ

ภาพรวมของธุรกิจของตัวเอง

 

 

 

#เล่าเรื่องคนค้าข้าว
#แชร์ประสบการณ์ตกถังข้าวสาร

 

 

Visitors: 56,002